งานพิเศษ

งานพิเศษ ผลการเลือกตั้ง

สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน



สรุปผลการเลือกตั้ง 54
สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

และถ้าหากตรวจสอบคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค จะพบว่า
- ภาคเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%
- ภาคกลาง เลือกพรรคเพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%
- ภาคใต้ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%
- กรุงเทพมหานคร เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%

พรรคร่วมรัฐบาล
สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดย ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคนไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ
พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ - พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส จำนวน 262 ที่นั่ง
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
รวม 300 ที่นั่ง


งานพิเศษ 2 มรดกโลก

                มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1, 200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น
สถิติ
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
  • หมายเหตุ มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป
ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป
ทวีป
มรดกโลกทางธรรมชาติ
มรดกโลกทางวัฒนธรรม
มรดกโลกผสม
มรดกโลกทั้งหมด
แอฟริกา
32
42
4
78
อาหรับ
4
61
1
66
เอเชีย-แปซิฟิก
51
138
9
198
ยุโรป และ อเมริกาเหนือ
58
377
10
444
ละตินอเมริกา และ แคริบเบียน
35
86
3
124
รวม
180
704
27
911
ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
ลำดับ
ประเทศ
ธรรมชาติ
วัฒนธรรม
ผสม
รวม
1
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
2
42
0
44
2
ธงของประเทศสเปน สเปน
3
36
2
41
3
ธงของสาธารณรัฐประชาชนจีน จีน
8
28
4
40
4
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
3
31
1
35
5
ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี
2
32
0
34
6
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก
4
27
0
31
7
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
4
23
1
28
8
ธงของสาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย
5
23
0
28
9
ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย
9
15
0
24
10
ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
12
8
1
21

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (InternationalCouncil on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (WorldConservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

               

         ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกดังนี้


หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

    1.      เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
    2.      เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
    3.      เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
    4.      เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
    5.      เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
    6.      มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ

     1.     เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง

     2.     เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

     3.     เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

     4.     เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
                คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (WorldHeritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม
ครั้งที่
ปี (พ.ศ.)
วันที่
สถานที่
ประเทศเจ้าภาพ
1
2520
27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2
2521
กันยายน - 8 กันยายน
วอชิงตัน ดี. ซี.
Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
3
2522
22 ตุลาคม - 26 ตุลาคม
ไคโร และ ลักซอร์
ธงชาติของอียิปต์ อียิปต์
4
2523
กันยายน - 5 กันยายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
5
2524
26 ตุลาคม - 30 ตุลาคม
ซิดนีย์
ธงชาติของออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
6
2525
13 ธันวาคม - 17 ธันวษาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
7
2526
ธันวาคม - 9 ธันวาคม
ฟลอเรนซ์
ธงชาติของอิตาลี อิตาลี
8
2527
29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน
บัวโนสไอเรส
ธงชาติของอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
9
2528
ธันวาคม - 6 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
10
2529
24 พฤศจิกายน - 28พฤศจิกายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
11
2530
ธันวาคม - 11 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
12
2531
ธันวาคม - 9 ธันวาคม
บราซิเลีย
ธงชาติของบราซิล บราซิล
13
2532
11 ธันวาคม - 15 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
14
2533
ธันวาคม - 12 ธันวาคม
แบนฟ์
ธงชาติของแคนาดา แคนาดา
15
2534
ธันวาคม - 13 ธันวาคม
คาร์เทจ
ธงชาติของตูนิเซีย ตูนิเซีย
16
2535
17
2536
ธันวาคม - 11 ธันวาคม
การ์ตาเฮนา
ธงชาติของโคลอมเบีย โคลอมเบีย
18
2537
12 ธันวาคม - 17 ธันวาคม
ภูเก็ต
ธงชาติของไทย ไทย
19
2538
ธันวาคม - 9 ธันวาคม
เบอร์ลิน
ธงชาติของเยอรมนี เยอรมนี
20
2539
ธันวาคม - 7 ธันวาคม
เมรีดา
ธงชาติของเม็กซิโก เม็กซิโก
21
2540
ธันวาคม - 6 ธันวาคม
เนเปิลส์
ธงชาติของอิตาลี อิตาลี
22
2541
30 ธันวาคม - 5 ธันวาคม
เกียวโต
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
23
2542
29 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม
มาร์ราเกช
ธงชาติของโมร็อกโก โมร็อกโก
24
2543
27 ธันวาคม - 2 ธันวาคม
แครนส
ธงชาติของออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
25
2544
11 ธันวาคม - 16 ธันวาคม
เฮลซิงกิ
ธงชาติของฟินแลนด์ ฟินแลนด์
26
2545
24 มิถุนายน - 29 มิถุนายน
บูดาเปสต์
ธงชาติของฮังการี ฮังการี
27
2546
30 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
28
2547
28 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม
ซูโจว
Flag of the People's Republic of China จีน
29
2548
10 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม
เดอร์บัน
ธงชาติของแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
30
2549
กรกฎาคม - 16 กรกฎาคม
วิลนีอุส
ธงชาติของลิทัวเนีย ลิทัวเนีย
31
2550
23 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม
ไครสต์เชิร์ช
ธงชาติของนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
32
2551
กรกฎาคม - 10 กรกฎาคม
เมืองควิเบก
ธงชาติของแคนาดา แคนาดา
33
2552
22 มิถุนายน - 30 มิถุนายน
เซบียา
ธงชาติของสเปน สเปน
34
2553
25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม
บราซิเลีย
ธงชาติของบราซิล บราซิล
35
2554
19 มิถุนายน - 29 มิถุนายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส

         

          แหล่งมรดกในประเทศไทย

      1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
               อุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
                                1.  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
                                2.   อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
                                3 .  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร " ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
    1. เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการกระทำอันแสนฉลาด
    2. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

             2.  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
          อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
            อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้
            1. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

           3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

           
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการลงทะเบียนของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ.2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย กินพื้นที่ครอบคลุม อำเภอ ของ จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จ. อุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จ.ตาก มีพื้นที่ 4,046,747ไร่ หรือ 6,427 ตารางกิโลเมตร
                เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
   1.   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีพื้นที่ 3,647 ตารางกิโลเมตร
   2.  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่ 2,780 ตารางกิโลเมตร
                ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
                1.   เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
                2.  เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
                3.  เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


      4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

     แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
เหตุผลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
1.   เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

      5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

   มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ ของไทย และเป็นอันดับที่ ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ
                สถานที่ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
     1. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
     2. อุทยานแห่งชาติทับลาน
     3. อุทยานแห่งชาติปางสีดา
     4. อุทยานแห่งชาติป่าดงใหญ่
มรดกโลก - ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่              
แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2533 แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง แห่งนั้น เล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่แม่แน่นอนและไม่เพียงพอ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืช และสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว 15,000 ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง 2,500 ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง 16 ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า 800 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 112 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า209 ชนิด นกกว่า 392 ชนิด และนกเงือก ชนิด ใน ชนิดที่พบในประเทศไทย


ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
1. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

 

ข้อที่ควรจะปรับปรุง

ยูเนสโกได้เสนอข้อเสนอแนะตามมาอีก ข้อ หลังจากได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่
1.     ให้มีการจัดระบบการจัดผืนป่าทั้งหมดแบบบูรณาการ ไม่ใช่แยกจัดแบบต่างคนต่างดูแลเหมือนเช่นที่ผ่านมา
2.     รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล เพื่อการบริหารจัดการพื้นป่าอย่างเต็มที่
3.     ดูแลนโยบายและการปฏิบัติใหสอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
4.     ต้องให้การส่งเสริมการสำรวจ และวิจัยสถานภาพของป่า และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง
5.     จะต้องหาหนทางเชื่อมผืนป่าต่างๆเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อกับป่าอนุรักษ์ในกัมพูชา
6.     ต้องหาทางแก้ปัญหาถนนที่ตัดแยกผืนป่าออกจากกัน โดยจะต้องศึกษา และหามาตรการให้ผืนป่าเชื่อมต่อกันภายในปี พ.ศ. 2550
ดำเนินกิจกรรมที่เสริมสร้างความร่วมมือจากชาวบ้าน และชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่า เพื่อเป็นหลักประกันในสถานภาพมรดกโลก


สาเหตุที่ไทยลาออกจากการเป็นมรดกโลก
     ที่มา -  มติชนออนไลน์ รวบรวมทัศนะและความเห็นกรณีประเทศไทยยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทยกรณีนำแผนการบริหารจัดการเขาพระวิหารเข้าสู่ที่ประชุม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี

"..การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อคืนที่ผ่านมา (25 มิถุนายน) รัฐมนตรีสุวิทย์ (คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เดินออกจากที่ประชุมและแสดงเจตนาการถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก การดำเนินการทั้งหมดอยู่ในกรอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และผ่านการปรึกษาหารือ เมื่อคืนที่ผ่านมาผมได้คุยกับท่านสุวิทย์ทางโทรศัพท์หลายครั้งและประสานกับรัฐมนตรีกษิต (ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ด้วย


ประเทศไทยแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาจะเสนอกับที่ประชุม และในช่วงที่มีการประสานกับ ผอ.ยูเนสโก และผู้แทนพิเศษฯนั้น มีการยืนยันกับไทยมาตลอดว่าจะไม่มีการพิจารณาแผนดังกล่าว กระทั่งในช่วงการประชุมหลายวันที่ผ่านมา ร่างข้อมติชัดเจนว่าที่ประชุมตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาแผนดังกล่าว แต่ปรากฏว่าก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมมีการนำเสนอร่างข้อมติเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งกัมพูชาเสนอขึ้นแม้จะไม่ได้พูดแผนบริหารจัดการพื้นที่ชัดเจน แต่กำกวม และเราได้ปรึกษาเเล้วและเห็นว่ายอมรับไม่ได้ ที่ประชุมต้องการนำร่างมติสองฝ่ายไปพิจารณาในที่ประชุม ไทยเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพราะมีการพูดกันมาตลอดว่าต้องไม่มีการตัดสินใจเรื่องนี้ ต้องมีความชัดเจนว่าต้องเลื่อนออกไปและระบุไว้ในข้อบังคับการประชุม"


ขอขอบคุณผู้แทนหลายประเทศและ ผอ.ยูเนสโก ที่พยายามหาทางประนีประนอมให้ร่างข้อมติเป็นที่ยอมรับได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม เช่น ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส บราซิล และอียิปต์ ที่พยายามประนีประนอม และผู้แทนจากสวิสนั้นเมื่อวาระนี้เข้าสู่ที่ประชุมได้บอกไปว่าอยากให้วาระนี้มีการประนีประนอมและแจ้งไปว่าผมกำลังรอคุยโทรศัพท์กับ ผอ.ยูเนสโก แต่ปรากฏว่าที่ประชุมตัดสินใจเดินหน้าต่อไป ฉะนั้นท่านสุวิทย์จึงตัดสินใจแถลงเจตนาเดินออกจากที่ประชุมและถอนตัวออกการเป็นภาคี

"การดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามมติ ครม. อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านสุวิทย์เดินออกจากที่ประชุม ที่ประชุมมีมติตัดข้อความที่กัมพูชาเสนอในย่อหน้าที่เป็นปัญหา ฉะนั้นในชั้นนี้ยังไม่มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ของกัมพูชาแต่ประการใด การดำเนินการต่อไปจะเป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ที่จะดำเนินการถอนตัวจากกรรมการมรดกโลก แต่ระหว่างนี้ยูเนสโกสามารถปรึกษาหารือกับไทยได้เกี่ยวกับการดำเนินการต่อไป โดยไทยจะยืนยันว่าหากจะฟื้นฟูบูรณะใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดินแดนไทย ต้องได้รับความยินยอมจากไทยและไทยยืนยันเสมอว่ากัมพูชาต้องถอนทหารออกจากปราสาททั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะถือว่าขัดต่อสนธิสัญญาและเจตนารมณ์ของกรรมการมรดกโลกด้วย"


การดำเนินการมาทั้งหมดนั้นยืนยันว่าไม่สูญเปล่าแน่นอน มิตรประเทศ คือ 5 ประเทศข้างต้นก็ช่วยไทยจริงจังและน่าจะเข้าใจจุดยืนของไทยมากขึ้น ผมเชื่อว่าการทำความเข้าใจมาตลอดมันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ในที่สุดมติที่ประชุมก็ไม่ใส่ร่างข้อมติปัญหาที่กัมพูชาเสนอ"

นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


"การที่ไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่าทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ


การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยนายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลก


การถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกนั้น ไม่มีข้อเสีย มีแต่ข้อดี เพราะทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลก ถ้าเรายอมรับตามแผนบริหารจัดการดังกล่าว ก็เท่ากับว่ายินยอมเห็นชอบ ทำให้กัมพูชาหยิบยกเป็นข้ออ้างเป็นหลักฐานไปสู้คดีในศาลโลกได้ ไม่ถือว่าการเดินทางไปครั้งนี้ปฏิบัติหน้าที่ล้มเหลว เราทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยไทยอย่างเต็มที่


อย่างไรก็ตาม การถอนตัวจากสมาชิกภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีผลต่อมรดกโลกของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่จะมีผลกับสิ่งที่ขอขึ้นทะเบียนใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ แหล่งมรดกโลกจะถูกถอดถอนหากไม่ดูแลรักษาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลก

พวงทอง ภวัครพันธุ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ขณะนี้ยังไม่ได้เห็นคำแถลงและเหตุผลที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ กล่าวอ้างชัดๆ แต่ได้ยินตามสื่อทีวีบางช่องที่รายงานว่า เป็นเพราะฝ่ายไทยไม่สบายใจกับคำว่า Urgent repairs. (เร่งซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน) และ Restoration. (บูรณะ) โดยต้องการให้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Protect (ป้องกัน) หรือ Conservation (อนุรักษ์) แทน เนื่องจากการซ่อมแซมอาจเกินเข้ามาในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งดิฉันเห็นว่าถ้ามีการอ้างเหตุผลแบบนี้ จะเป็นการเข้าใจผิด เพราะการซ่อมแซมสามารถขึ้นทางฝั่งตะวันออกของปราสาทได้ และการซ่อมตัวปราสาทไม่ได้เกี่ยวกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และขอบปราสาทก็มีรั้วอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงคัดค้าน 2 คำนี้

และคิดว่าการยื่นจดหมายลาออก น่าจะเป็นการที่คุณสุวิทย์ปกป้องตัวเองมากกว่า เพราะไม่สามารถยับยั้งแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาเสนอได้ จึงกลัวถูกโจมตีเลยยื่นลาออกเพื่อตอบโต้ ซึ่งทำให้ฝ่ายชาตินิยมสะใจไปด้วย

การยื่นลาออกจากการเป็นภาคี ไม่ได้เป็นผลดี เพราะกระทบกับมรดกโลกของไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้อีกหลายแห่ง เมื่อเราไม่ได้เป็นภาคีแล้ว แม้อนุสัญญาการเป็นภาคีกรรมการมรดกโลกจะไม่ได้ระบุว่า สถานที่อื่นๆ จะหมดไปด้วย แต่ระยะยาวจะมีผลเพราะสถานที่ที่เป็นมรดกโลกต้องรายงานคณะกรรมการตลอด ถ้าเราออกมา ก็ไม่ต้องรายงานและคณะกรรมการก็ไม่ต้องเข้ามาดู อย่างไรก็ดี เท่าที่ตรวจสอบอนุสัญญา การลาออกไม่ได้มีผลทันที แต่จะมีผลในอีก 12 เดือน ซึ่งถ้ารัฐบาลใหม่เข้ามาก็อาจเปลี่ยนใจขอถอนจดหมายลาออกได้ ตรงนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางที่รัฐบาลใหม่ควรทำ"

ที่ผ่านมารัฐบาลไทยทำให้คนไทยเข้าใจผิดมาตลอดในหลายประเด็น อาทิ ตอนที่คณะกรรมการเชิญไทยเป็นกรรมการบริหารจัดการแผนร่วม แต่ไทยก็ถอนตัวออกมา ทั้งที่ตามอนุสัญญาการเป็นภาคีกรรมการมรดกโลกคือ ข้อตกลงที่เจ้าของทรัพย์สินมรดกโลกจะให้กรรมการมรดโลก มาช่วยให้คำแนะนำ ดูแลให้สถานที่นั้นๆ เข้าสู่มาตรฐาน แต่คณะกรรมการยังเคารพอธิปไตยของประเทศนั้นๆ

ฉะนั้นเมื่อไทยถอนตัวออกมาจึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในนี้ นอกจากนี้ ถ้าดูแผนที่ที่กัมพูชาเสนอเป็นแผนบริหารจัดการ ก็ไม่มีในส่วนที่ยื่นเข้าในพื้นที่ 4.6 ตารากิโลเมตร ฉะนั้น ถ้ายังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการล้ำเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว คณะกรรมการก็ย่อมไม่ฟังคำทักท้วงของไทย

นอกจากนี้ ไทยไม่เคยแสดงภาพหรือหลักฐานชัดๆ ว่ามีการล้ำเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว มีแต่คนของทางรัฐบาลพูดกันไป และที่สำคัญ ไทยยังเข้าใจเรื่องแผนบริหารจัดการผิด สิ่งที่ไทยค้านมา 2 ปีตามที่มีการเสนอข่าว อันที่จริงคือ คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่ได้พิจารณาลงในรายละเอียดของแผน แต่เป็นการพิจารณาเพื่อรับทราบเฉยๆ ว่ามีแผน เพราะกรรมการมีเรื่องพิจารณาเยอะ จึงไม่ได้มาพิจารณาลงในรายละเอียด เพราะต้องลงพื้นที่ดูว่าได้ปฏิบัติไปตามแผนจริงหรือไม่ อย่างไรก็ดี เมื่อมีกรณีนี้เกิดขึ้นคิดว่าปัญหาปราสาทพระวิหาร คงยืดเยื้อ

นายอดุล วิเชียรเจริญ
อดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ


"..เท่าที่ทราบยังไม่มีประเทศใดถอนตัวออกจากภาคีสมาชิก ไทยเป็นประเทศแรกที่ลาออกจาก ซึ่งการถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกนั้นจะไม่กระทบต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก และจะไม่ถูกถอดถอนและจะไม่เสียฐานะยังคงเป็นอยู่ต่อไป ส่วนที่ว่าหากไทยจะขอกลับไปเป็นภาคีสมาชิกอีกครั้งทำได้หรือไม่ ผมมองว่าในเมื่อไทยตัดสินใจลาออกมาแล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรต้องกลับไปอีก ที่ผ่านมาที่ไทยยอมเป็นภาคีมรดกโลก


เนื่องจากตอนนั้นการพิจารณามรดกโลกเป็นไปอย่างเคร่งครัด แต่มาภายหลังไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน
การที่ไทยถอนตัวไม่เป็นภาคีมรดกโลกแล้วจะสามารถเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้เป็นมรดกโลกได้หรือไม่ ตามหลักสากล หรือในข้อกำหนดของยูเนสโกไม่ได้เขียนระบุไว้ว่า หากถอนตัวแล้วจะไม่สามารถเสนอขอเป็นมรดกโลก แต่โดยหลักการแล้ว ในเมื่อเราปฏิเสธกลไกดังกล่าวไปแล้ว เราก็ไม่ควรเสนอเป็นมรดกโลก

ผมมองว่าไม่มีความจำเป็นและไม่เห็นต้องอาศัยชื่อความเป็นมรดกโลก เพราะไม่ได้ทำให้พื้นที่ของประเทศไทยดีขึ้น เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางชื่อเท่านั้น.